วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นมผึ้ง Royal Jelly


นมผึ้ง Royal Jelly





นมผึ้งคืออะไร 

ผึ้งงานหลายหมื่นตัว มีหน้าที่ค่อยหาน้ำหวานและเกสรดอกไม้ มาเลี้ยงผึ้งตัวอ่อนในรังให้ดูดน้ำหวาน  ตัวอ่อนที่ไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นราชินีผึ้ง ก็จะกลายมาเป็นผึ้งงาน เมื่อผึ้งงานมีอายุ 5-15 วัน น้ำหวานที่ดูดจะผ่านระบบทางเดินอาหาร แล้วส่งไปบริเวณส่วนหัว มารวมกับของเหลวที่ผลิตได้จากต่อมพิเศษข้างศีรษะ ชื่อ ต่อมไฮโปรฟาริงซ์ (hypopharyngeal gland) อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัวของผึ้ง  จนได้ของเหลวข้นสีขาวนวลเหมือนนมข้น กลิ่นออกเปรี้ยว รสเผ็ดนิดๆ  คายออกมาจากปากผึ้งเหล่านั้น จึงเป็นที่มาของ นมผึ้ง หรือ รอยัลเยลลี่ (Royal Jelly)
นมผึ้งที่ได้มาใช้เป็นอาหารป้อนให้ตัวอ่อนที่เพิ่งออกจากไข่จนอายุถึง 3 วัน และผู้ที่จะได้กินนมผึ้งต่อไปตลอดชีวิตต้องเป็นผู้ที่ถูกเลือกให้เป็นราชินีผึ้งเท่านั้น  ผึ้งถูกเลี้ยงให้เป็นราชินี ไม่ได้เกิดมาแล้วเป็นเอง จากประโยชน์ของนมผึ้งที่เสริมสร้างร่างกายและการเจริญเติบโตให้แก่ราชินีผึ้ง ทำให้มีชีวิตยืนยาว ราชินีผึ้งมีอายุ 4-5 ปี ส่วนผึ้งงานมีอายุ 45 วัน  ราชินีผึ้งตัวใหญ่กว่า และยังต้องวางไข่ทุกวัน ออกไข่วันละ 2,000 – 3,000 ฟอง ตลอดอายุขัย นมผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวญี่ปุ่นมานาน และบริโภคนมผึ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก


นมผึ้งอุดมไปด้วย
1. วิตามินบีรวม
- วิตามินบี 1 (ไธอามิน)
- วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)
- วิตามินบี 3 (ไนอะซิน)
- วิตามินบี 5 (กรดแพนโททินิก)
- วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน)
- วิตามินบี 7 หรือวิตามินเอช (ไบโอติน)
- วิตามินบี 9 (กรดโฟลิค)
- วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)
2. วิตามิน เอ ดี อี
3. วิตามิน ซี
4. แร่ธาตุ ต่างๆ
            - แคลเซียม
- ทองแดง
- เหล็ก
- สังกะสี
- แมกนีเซียม
- แมงกานีส
- ฟอสฟอรัส
- โพแทสเซียม
- ซิลิคอน
- กำมะถัน
- อะเซตทิลคลอไรด์
- ไอโนซิทอล
5. คาร์โบไฮเดรท โปรตีนและกรดไขมัน
6. กรดอะมิโน
7. เจลาติน
8. DE HYDRO EPIANDROSTERONE ACID (DHEA)
9. 10-hydroxy-2-decenoid acid (10 HAD)
            เป็นสารเฉพาะที่ค้นพบในนมผึ้งเท่านั้น มีหน้าที่สำคัญในการปรับระบบของร่างกายด้วยการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน adrenaline ทำหน้าที่ส่งผ่านการสั่งงานของระบบประสาท
10-HDA ปรับเซลล์ให้แข็งแรง ป้องกันการโตของเซลล์ที่ผิดปกติ ส่วนไหนของร่างกายที่เสื่อม ก็จะเข้าไปซ่อมแซมจนถึง DNA ให้แข็งแรง

คุณประโยชน์ของนมผึ้ง

1. ชะลอความแก่ คงความอ่อนเยาว์ ผิวพรรณสดใส
- มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องการเซลล์ถูกทำลายและฟื้นฟูเซลล์
- กระตุ้นคอลลาเจน ปรับความยืดหยุ่นต่อผิว
- ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลาย สร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
- ช่วยควบคุมการเกิดกระบวนการร่วงโรย

2. ปรับความสมดุลของฮอร์โมน
            - ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
            - บรรเทาอาการก่อนและหลังมีประจำเดือน
            - ช่วยเรื่องการสุกของไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไว และหมดช้า จึงคงความสาวได้นานกว่าเดิม
            - ลดอาการต่างๆ ที่เกิดในหญิงวัยทอง
            - มีฮอร์โมนเพศชาย (testosterone)
            - ฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศและคงอยู่ได้นาน เสริมสร้างสเปริม์ 

3. ป้องกันโรคกระดูกพรุ่น ปวดข้อ ปวดกระดูก
- เพิ่มมวลกระดูกในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
- เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง

4. ลดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
            - กระตุ้นทำให้หลับสบายขึ้น
            - ให้พลังเต็มประสิทธิภาพตลอดทั้งวัน

5. ประโยชน์ด้านอื่นๆของนมผึ้ง
- ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคของร่างกายแข็งแกร่งขึ้น
- ส่งเสริมการทำงานของระบบเลือดให้ไหลเวียนดี
- ช่วยในการเผาผลาญอาหาร
- ยับยั้งและต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อรา
- ป้องกันโรคความจำเสื่อม
- บำรุงรากผมและเส้นผมให้เงางามแข็งแรง
- บำรุงสายตา

การเลือกทานนมผึ้ง
อายุต่ำกว่า 25 ปี แนะนำให้ทานนมผึ้ง 1.1%
อายุ 25-35 ปี แนะนำให้ทานนมผึ้ง 2 หรือ 6%
อายุมากกว่า 35 ปี แนะนำให้ทานนมผึ้ง 6%


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพประกอบจากการค้นหาผ่าน Google Search  






วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตารางกิโลแคลอรี่ในอาหาร



การลดน้ำหนักโดยวิธีการควบคุมอาหาร (ไม่ใช่อดอาหาร) การกินจะต้องน้อยกว่าการออกกำลังกาย ใน 1 วันคนเราจะต้องได้รับสารอาหารโดยเฉลี่ยประมาณวันละ 2,200 กิโลแคลอรี่ (kcal)
น้ำหนักตัวคนเรา 1 กิโลกรัม คิดเป็น 7,700 kcal
ถ้าอยากลดสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม หรือ 7,700 kcal
ใน 1 วันควรจะรับประทานอาหารเพียงแค่ 1,100 kcal จากปกติ 2,200 kcal
เมื่อครบ 7 วันจะลดน้ำหนักลงได้ 1 กิโลกรัม

BMR ( Basal Metabolism Rate ) คือ ค่าพลังงานที่ร่างกายต้องการขณะพักหรือขณะที่ไม่ได้มีกิจกรรมใดใด
สูตรคำนวณ
BMR (kcal) = น้ำหนัก(กิโลกรัม) x 0.9 x 24
BMR (kcal)  = 55 กิโลกรัม x 0.9 x 24
BMR (kcal)  = 1,188
ได้ค่ามาแล้วให้บวกเพิ่ม 300-400 kcal เพราะยังมีกิจกรรมระหว่างวันอีก เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นลงบันได เป็นต้น
สรุป
BMR (kcal)  = 1,188+400
BMR (kcal)  = 1,588            
ดังนั้นอาหารที่เราต้องการพลังงานทั้งหมดต่อวันคือ 1,588 kcal ห้ามทานเกิน เพราะส่วนเกินจะกลายมาเป็นไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆนั่นเอง

รู้อย่างนี้แล้วก็มาเป็นนักโภชนาการมือสมัครเล่นกันเถอะ โดยเริ่มจากการวางแผนไว้ล่วงหน้าเลยว่าแต่ละวันจะทานอะไรดีไม่ให้อ้วน

ตารางแคลลอรี่ในอาหาร(สำหรับคนที่นับแคลลอรี่ในการทานอาหาร) ต่อ 1 จาน