วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคข้อเสื่อม


โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis)



อาการข้อเสื่อมเป็นอย่างไร

1.ข้อบวมหรือข้อโตขึ้น โดยเฉพาะข้อนิ้วมือเหมือนมีกระดูกงอกบริเวณข้อด้านหลังนิ้ว
2.กดเจ็บ ในรายที่มีข้ออักเสบ ปวดขณะเคลื่อนข้อ หรือเวลากดกระดูกข้างข้อที่โตแล้วเจ็บ มีอาการบวมและมีน้ำในข้อ
3.มีเสียงดังในข้อขณะเคลื่อนไหว เหมือนผิวของกระดูกเสียดสีกัน
4.องศาการเคลื่อนไหวของข้อลดลง เมื่อทิ้งไว้นานการเคลื่อนไหวของข้อยิ่งลดลงมาก ทำให้สูญเสียการทำงาน
5.ข้อผิดรูปหรือพิการ เช่น ข้อเข่าโก่ง
6.ความมั่นคงของข้อเสียไป เช่น ข้อหลวม
7.การเดินผิดปกติ เช่น เดินกระเผลก
8.กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง
9.มีอาการข้อฝือ เช่น นั่งท่าเดียวนาน ๆ จะมีความรู้สึกฝืด เคลื่อนไหวไม่คล่อง


ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นข้อเสื่อม

1.ผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วยวัยทอง จะมีการสึกกร่อนของข้อมากที่สุด
2.เพศหญิง จะมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย และมักพบข้อเสื่อมบริเวณเข่าและมือใน ขั้นรุนแรง
3.ผู้มีน้ำหนักตัวยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมาก
4.นักกีฬา จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อ
5.ชาวไร่ ชาวนา มักพบข้อเสื่อมบริเวณบั้นเอว
6.พ่อค้า แม่ค้า มักพบโรคข้อเสื่อมของข้อเข่า
7.แม่บ้านพบข้อนิ้วเสื่อมมากที่สุด




โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูก เพราะปริมาณของ
โปรตีนโอไกลแคน (proteoglycans) ลดลง ทำให้ความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง จึงมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการลงน้ำหนักหรือใช้งานบริเวณอวัยวะส่วนนั้น ต่อมาจะมีอาการบวมข้อ ฯลฯ และเมื่อมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขั้นท้ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูปผิดร่าง  นอกจากการรับประทานยา
เพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบของข้อแล้ว ยังมีทางเลือกใหม่ของการบำบัดรักษาอาการข้ออักเสบ


กลูโคซามีน (glucosamine) เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ถูกสร้างและมีอยู่ในร่างกายของมนุษย์รวมทั้งของเหลวที่มีอยู่รอบข้อต่อ กลูโคซามีนจะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารโมเลกุลใหญ่เช่น โปรตีนโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน(glycoprotein), ไกลโคสามิโนไกลแคน(glycosaminoglycan), กรดไฮยาลูโรนิก(hyaluronic acid) สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย 
โดยจะพบได้มากที่กระดูกอ่อน(cartilage) จะอยู่ที่ปริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ  กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีนโอไกลแคนอยู่ภายใน  โดยที่โปรตีนโอไกลแคนมีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้  นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิดจึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย พบได้มากในเปลือกสัตว์ประเภทกุ้ง ปู

คอยดรอยติน (chondroitin) เป็นสารอีกหนึ่งตัวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบได้ส่วนใหญ่ที่บริเวณเนื้อเยื่อตามข้อต่อส่วนต่างๆของร่างกาย และบริเวณกระดูกอ่อนรอบข้อต่อ คอยดรอยตินคือสารที่ไปขัดขวางเอนไซม์ที่ย่อยสลายกระดูกอ่อนและช่วยในการสร้างกระดูกอ่อน
คอนดรอยตินทำหน้าที่ดูดน้ำในร่างกายไปเลี้ยงที่กระดูก เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้ข้อต่อ หากร่างกายขาดคอนดรอยตินจะทำให้กระดูกแห้ง
ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะลดน้อยลง  พบได้มากในกระดูกอ่อนของสัตว์

กลูโคซามี และคอยดรอยติน มักจะเสื่อมสภาพเมื่อผ่านกระบวนการย่อยหรือประกอบอาหาร ทำให้ร่างกายไม่ได้รับหรือได้รับ กลูโคซามีน และ คอนดรอยตินน้อยมากจากการกินอาหาร ดังนั้นร่างกายจึงต้องสังเคราะห์สารดังกล่าว หากให้สภาวะที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
ร่างกายจะสร้างสารเหล่านี้ได้เพียงพอต่อความต้องการ แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นการเสื่อมของกระดูกอ่อนในข้อมีมากขึ้น ร่างกายจะผลิตสารดังกล่าวไม่พียงพอจึงนำไปสู่อาการของโรคข้อเสื่อม การเสริมสารกลูโคซามีน และ คอนดรอยติน อาจช่วยยับยั้งและชะลออาการดังกล่าวได้ 

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการรับประทานกลูโคซามีน คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด นอกจากนี้ยังพบอาการง่วงซึม
ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้แสง ปากคอบวม (angioedema) หรือกระตุ้นให้เกิดการจับหืดได้

ควรระมัดระวังในผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ปู เพราะกลูโซามีนสังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ดังกล่าว

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=3
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=41
http://vet.kku.ac.th/vetpharmaco/document/pairoaj/glucosamine.pdf
http://bit.ly/PvhpNp

รูปประกอบจาก

http://bit.ly/L9Eqnt
http://sriphat.med.cmu.ac.th/container/data.php?mod=blogDr&id=5
http://www.learners.in.th/blogs/posts/343971
http://www.snatur.co/glucosamine-snatur/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น