วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวทางในการบริโภคอาหารเสริม






พีระมิดสารเสริมอาหารของ CRN หรือ สถาบันวิจัยสารอาหาร (Council for Responsible Nutrition) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่มา: Reader’s Digest Asia

สถาบันวิจัยสารอาหาร CRN ได้จัดทำพีระมิดสารเสริมอาหารขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการบริโภคอาหารเสริม

สารอาหารจำเป็นขั้นพื้นฐาน  

-วิตามินและเกลือแร่รวมเป็นส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของการบำรุงสุขภาพ  นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มสารอาหารอื่นๆ ร่วมด้วย วิตามินรวมที่ดีควรจะสามารถเติมเต็มสารอาหารในส่วนที่ขาดของคนส่วนใหญ่ได้ วิตามินรวมที่มีกรดโฟลิคยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง อีกทั้งส่งเสริมสุขภาพดีในสตรีวัยเจริญพันธุ์

 -แคลเซียม คนส่วนใหญ่ขาดแคลเซียม 1,000มิลลิกรัมต่อวัน  ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างความแข็งแรงของกระดูก นมหนึ่งแก้วซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรวมแคลเซียมที่ดีที่สุดประกอบด้วยเกลือแร่ 300 มิลลิกรัม  ในชาวเอเชียจำนวนมากมีอาการแพ้นม และมักมีปัญหาในการดูดซึมแคลเซียม เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น บริโภคโปรตีนมากเกินไป ด้วยเหตุนี้ แคลเซียมจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพิ่มมากขึ้น

-สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซีและอี ช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายและอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง และปัญหาสุขภาพอื่นๆ

สารอาหารเสริมพิเศษ

-แต่ละคนมีความต้องการเสริมสารอาหารต่างกัน  ตัวอย่างเช่น คนที่ไม่ รับประทานปลาอาจต้องการอาหารเสริมที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เชื่อว่าสารที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ซึ่งอยู่ในน้ำมันปลาจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีอาการปวดตามข้ออาจะต้องการกลูโคซามีน หรือ คอนดรอยทินซัลเฟตซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีคุณสมบัติที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ สุรา อบายมุข ความเครียด จะเป็นตัวช่วยให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น หากไม่ทราบว่าตนเองควรจะเสริมสารอาหารใด  ควรไปตรวจสุขภาพประจำปีและปรึกษากับคุณหมอ หรือเภสัชกร


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพ

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

วิตามินและสารอาหารที่เหมาะกับวัยทำงาน


วิตามินและสารอาหารที่เหมาะกับวัยทำงาน

วัยทำงาน ช่วงอายุระหว่าง 20-59 ปี เป็นวัยที่ต้องการพลังงานความแข็งแรง ความกระฉับกระเฉง มีสมองที่ปลอดโปร่ง แต่เมื่อวัยที่มากกว่า 30 ปีขึ้นไป ก็เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงกับร่างกาย ความแข็งแรงของโครงกระดูกกล้ามเนื้อเริ่มเสื่อม เริ่มมีริ้วรอย ผิวหนังเริ่มเหี่ยวย่น ผมเริ่มหงอก คนวัยนี้จึงควรตื่นตัวและหาวิธีการที่จะชะลอความเสื่อมของร่างกายด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิถีชีวิต ทั้งการออกกำลังกาย การพักผ่อน และพิถีพิถันในการบริโภคมากกว่าวัยอื่น เพื่อดำรงสภาพและชะลอความเสื่อมของร่างกาย



1.)วิตามินและแร่ธาตุรวมทุกวัน การได้รับวิตามินในปริมาณที่มากกว่าความต้องการของร่างกายจะสามารถป้องกันการขาดวิตามินและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ หลังจากนั้นอาจเสริมสารอาหารอื่นตามความจำเป็นของแต่ละคน

2.) น้ำมันปลา (Fish Oil) โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ การได้รับน้ำมันปลา 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความดันโลหิต ทำให้เลือดไหลเวียนดี ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันความเครียดและอารมณ์หดหู่

3.) เลซิติน ( Lecithin) ส่วนใหญ่สกัดได้จากถั่วเหลือง มีส่วนช่วยเสริมในการทำงานของประสาท ช่วยให้การประสานงานระหว่างเซลล์ประสาทเป็นไปได้ดี ควรได้รับวันละ 2,400-3,600 มิลลิกรัม

4.) โคเอนไซม์ คิวเทน (Co-enzyme Q10) ช่วยส่งเสริมพลังงานในร่างกายของเซลล์ ทุกเซลล์ในร่างการต้องการ คิวเทน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเผาผลาญพลังงาน วัยที่เพิ่มขึ้นร่างกายจะสร้างคิวเทนลดลง ควรเสริมวันละ 50-100 มิลลิกรัม
5.) โสมสกัด ช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้กระชุ่มกระชวยมีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงกำลัง กล้ามเนื้อแข็งแรง โสมเป็นสมุนไพรให้ผลโดยกว้าง โดยทั่วไปต้านทานการเกิดโรค ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการนอนไม่หลับหรือลดความเครียด

6.) วิตามินบี มีส่วนสำคัญในการบำรุงสมองและระบบประสาทได้ดี มีผลวิจัยพบว่าการได้รับวิตามินบีปริมาณสูงพอ ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ลดความเครียด เสริมให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในเซลล์ ให้ร่างกายรู้สึกมีพลัง

7.) วิตามินซี การรับประทานเป็นประจำจะช่วยชะลอความแก่และป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

8.) กระเทียมสกัด ช่วยลดไขมันและไตรกลีเซอร์ไรด์ และไขมันโคเลสเตอร์รอลในเลือด ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น ปริมาณที่พอเหมาะ วันละ 2-5 มิลลิกรัม

สารอาหารเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสร้างสุขภาพที่ดี นอกจากนี้แล้วการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มองโลกในแง่ดี ทำจิตใจให้แจ่มใสเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพจากกลูเกิ้ล
-หนังสือคู่มือสุขภาพ Good Health ฉบับปรับปรุงใหม่ 2552




วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นมผึ้ง Royal Jelly


นมผึ้ง Royal Jelly





นมผึ้งคืออะไร 

ผึ้งงานหลายหมื่นตัว มีหน้าที่ค่อยหาน้ำหวานและเกสรดอกไม้ มาเลี้ยงผึ้งตัวอ่อนในรังให้ดูดน้ำหวาน  ตัวอ่อนที่ไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นราชินีผึ้ง ก็จะกลายมาเป็นผึ้งงาน เมื่อผึ้งงานมีอายุ 5-15 วัน น้ำหวานที่ดูดจะผ่านระบบทางเดินอาหาร แล้วส่งไปบริเวณส่วนหัว มารวมกับของเหลวที่ผลิตได้จากต่อมพิเศษข้างศีรษะ ชื่อ ต่อมไฮโปรฟาริงซ์ (hypopharyngeal gland) อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัวของผึ้ง  จนได้ของเหลวข้นสีขาวนวลเหมือนนมข้น กลิ่นออกเปรี้ยว รสเผ็ดนิดๆ  คายออกมาจากปากผึ้งเหล่านั้น จึงเป็นที่มาของ นมผึ้ง หรือ รอยัลเยลลี่ (Royal Jelly)
นมผึ้งที่ได้มาใช้เป็นอาหารป้อนให้ตัวอ่อนที่เพิ่งออกจากไข่จนอายุถึง 3 วัน และผู้ที่จะได้กินนมผึ้งต่อไปตลอดชีวิตต้องเป็นผู้ที่ถูกเลือกให้เป็นราชินีผึ้งเท่านั้น  ผึ้งถูกเลี้ยงให้เป็นราชินี ไม่ได้เกิดมาแล้วเป็นเอง จากประโยชน์ของนมผึ้งที่เสริมสร้างร่างกายและการเจริญเติบโตให้แก่ราชินีผึ้ง ทำให้มีชีวิตยืนยาว ราชินีผึ้งมีอายุ 4-5 ปี ส่วนผึ้งงานมีอายุ 45 วัน  ราชินีผึ้งตัวใหญ่กว่า และยังต้องวางไข่ทุกวัน ออกไข่วันละ 2,000 – 3,000 ฟอง ตลอดอายุขัย นมผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวญี่ปุ่นมานาน และบริโภคนมผึ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก


นมผึ้งอุดมไปด้วย
1. วิตามินบีรวม
- วิตามินบี 1 (ไธอามิน)
- วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)
- วิตามินบี 3 (ไนอะซิน)
- วิตามินบี 5 (กรดแพนโททินิก)
- วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน)
- วิตามินบี 7 หรือวิตามินเอช (ไบโอติน)
- วิตามินบี 9 (กรดโฟลิค)
- วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)
2. วิตามิน เอ ดี อี
3. วิตามิน ซี
4. แร่ธาตุ ต่างๆ
            - แคลเซียม
- ทองแดง
- เหล็ก
- สังกะสี
- แมกนีเซียม
- แมงกานีส
- ฟอสฟอรัส
- โพแทสเซียม
- ซิลิคอน
- กำมะถัน
- อะเซตทิลคลอไรด์
- ไอโนซิทอล
5. คาร์โบไฮเดรท โปรตีนและกรดไขมัน
6. กรดอะมิโน
7. เจลาติน
8. DE HYDRO EPIANDROSTERONE ACID (DHEA)
9. 10-hydroxy-2-decenoid acid (10 HAD)
            เป็นสารเฉพาะที่ค้นพบในนมผึ้งเท่านั้น มีหน้าที่สำคัญในการปรับระบบของร่างกายด้วยการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน adrenaline ทำหน้าที่ส่งผ่านการสั่งงานของระบบประสาท
10-HDA ปรับเซลล์ให้แข็งแรง ป้องกันการโตของเซลล์ที่ผิดปกติ ส่วนไหนของร่างกายที่เสื่อม ก็จะเข้าไปซ่อมแซมจนถึง DNA ให้แข็งแรง

คุณประโยชน์ของนมผึ้ง

1. ชะลอความแก่ คงความอ่อนเยาว์ ผิวพรรณสดใส
- มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องการเซลล์ถูกทำลายและฟื้นฟูเซลล์
- กระตุ้นคอลลาเจน ปรับความยืดหยุ่นต่อผิว
- ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลาย สร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
- ช่วยควบคุมการเกิดกระบวนการร่วงโรย

2. ปรับความสมดุลของฮอร์โมน
            - ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
            - บรรเทาอาการก่อนและหลังมีประจำเดือน
            - ช่วยเรื่องการสุกของไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไว และหมดช้า จึงคงความสาวได้นานกว่าเดิม
            - ลดอาการต่างๆ ที่เกิดในหญิงวัยทอง
            - มีฮอร์โมนเพศชาย (testosterone)
            - ฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศและคงอยู่ได้นาน เสริมสร้างสเปริม์ 

3. ป้องกันโรคกระดูกพรุ่น ปวดข้อ ปวดกระดูก
- เพิ่มมวลกระดูกในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
- เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง

4. ลดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
            - กระตุ้นทำให้หลับสบายขึ้น
            - ให้พลังเต็มประสิทธิภาพตลอดทั้งวัน

5. ประโยชน์ด้านอื่นๆของนมผึ้ง
- ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคของร่างกายแข็งแกร่งขึ้น
- ส่งเสริมการทำงานของระบบเลือดให้ไหลเวียนดี
- ช่วยในการเผาผลาญอาหาร
- ยับยั้งและต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อรา
- ป้องกันโรคความจำเสื่อม
- บำรุงรากผมและเส้นผมให้เงางามแข็งแรง
- บำรุงสายตา

การเลือกทานนมผึ้ง
อายุต่ำกว่า 25 ปี แนะนำให้ทานนมผึ้ง 1.1%
อายุ 25-35 ปี แนะนำให้ทานนมผึ้ง 2 หรือ 6%
อายุมากกว่า 35 ปี แนะนำให้ทานนมผึ้ง 6%


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพประกอบจากการค้นหาผ่าน Google Search  






วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตารางกิโลแคลอรี่ในอาหาร



การลดน้ำหนักโดยวิธีการควบคุมอาหาร (ไม่ใช่อดอาหาร) การกินจะต้องน้อยกว่าการออกกำลังกาย ใน 1 วันคนเราจะต้องได้รับสารอาหารโดยเฉลี่ยประมาณวันละ 2,200 กิโลแคลอรี่ (kcal)
น้ำหนักตัวคนเรา 1 กิโลกรัม คิดเป็น 7,700 kcal
ถ้าอยากลดสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม หรือ 7,700 kcal
ใน 1 วันควรจะรับประทานอาหารเพียงแค่ 1,100 kcal จากปกติ 2,200 kcal
เมื่อครบ 7 วันจะลดน้ำหนักลงได้ 1 กิโลกรัม

BMR ( Basal Metabolism Rate ) คือ ค่าพลังงานที่ร่างกายต้องการขณะพักหรือขณะที่ไม่ได้มีกิจกรรมใดใด
สูตรคำนวณ
BMR (kcal) = น้ำหนัก(กิโลกรัม) x 0.9 x 24
BMR (kcal)  = 55 กิโลกรัม x 0.9 x 24
BMR (kcal)  = 1,188
ได้ค่ามาแล้วให้บวกเพิ่ม 300-400 kcal เพราะยังมีกิจกรรมระหว่างวันอีก เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นลงบันได เป็นต้น
สรุป
BMR (kcal)  = 1,188+400
BMR (kcal)  = 1,588            
ดังนั้นอาหารที่เราต้องการพลังงานทั้งหมดต่อวันคือ 1,588 kcal ห้ามทานเกิน เพราะส่วนเกินจะกลายมาเป็นไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆนั่นเอง

รู้อย่างนี้แล้วก็มาเป็นนักโภชนาการมือสมัครเล่นกันเถอะ โดยเริ่มจากการวางแผนไว้ล่วงหน้าเลยว่าแต่ละวันจะทานอะไรดีไม่ให้อ้วน

ตารางแคลลอรี่ในอาหาร(สำหรับคนที่นับแคลลอรี่ในการทานอาหาร) ต่อ 1 จาน

















วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บอกลาไขมันส่วนเกิน



สาวๆยุคปัจจุบันทั้งหลาย จำนวนไม่น้อยที่ต้องต่อสู้กับไอ้เจ้าไขมันส่วนเกิน รูปถ่ายในอดีตเป็นตัวตอกย้ำว่าปัจจุบันรูปร่างเปลี่ยนไปมากแค่ไหน ไขมันเหล่านี้เพิ่มขึ้นมาจากไหนทุกปี     

ในร่างกายเรามีระบบการทำงานที่เรียกว่าเมตาโบลิซึ่มหรือกระบวนการเผาผลาญสารอาหารไปใช้เป็นพลังงาน ซึ่งการทำงานของระบบนี้จะช้าลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการเฉลี่ยต่อวันคือ 2,000 กิโลแคลอรี่ ดังนั้นหากรับประทานอาหารเกินความจำเป็นที่ร่างกายจะสามารถเผาผลาญได้บวกกับความสามารถในการเผาผลาญแคลอรี่ลดลง เมื่ออายุย่างเข้าเลข 3 ทำให้กลายมาเป็นไขมันส่วนเกินที่คอยสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายนั่นเอง 

มีวิธีที่ง่ายมากๆ ที่ทำยากมากๆ มาช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินเหล่านั้น เป็นวิธีที่ไม่เพียงแค่ปลอดภัยต่อสุขภาพยังทำให้ร่างกายกลับมาดูดี ฟิตแอนเฟริม จนทำให้หนุ่มๆ เหลียวมองและสาวๆด้วยกันยังอิจฉา โดยไม่ต้องพึงยาอันตราย หรือเสียเงินซื้อคอสลดน้ำหนักราคาแพง แต่หุ่นดีได้แค่ชั่วคราว

1    1. พยายามสร้างมวลกล้ามเนื้อ
ระบบการเผาผลาญจะทำงานช้าลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ประมาณปีละ 2% แต่มีบางสิ่งที่ทำได้เพื่อต่อสู้กับธรรมชาติ คือหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ อาจเลือกวิธีที่เน้นการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง กระชับ นั่นหมายถึงแคลอรี่ได้ถูกเผาผลาญออกไป

หาเวลาให้ได้ 30 นาที อย่างต่ำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ง่ายๆ แค่การเดินวันละ 10,000 ก้าว (เทียบได้กับการเดินเร็ว ๆ ประมาณ 20 นาที) จะช่วยให้คุณใช้พลังงานไปมากกว่า 500 กิโลแคลอรีเลยทีเดียว  ที่สำคัญการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายยังคงเกิดการเผาผลาญต่อไปอีก 2 ชั่วโมง หลังจากที่เราออกกำลังกายเสร็จ



2     2.  ไม่อดอาหาร ทานให้ครบมื้อ
หลายๆคนเข้าใจว่า การอดอาหารจะช่วยให้น้ำหนักลดได้อย่างรวดเร็ว และส่วนใหญ่จะงดมื้อเช้าเสียด้วย เมื่อคุณได้ทานอาหารหลังจากอดมื้อใดมื้อหนึ่งมา ร่างกายจะยิ่งสั่งให้ทานเข้าไปเรื่อย ๆ เพื่อชดเชยสารอาหารที่เสียไป ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า ยิ่งอดก็จะยิ่งทำให้อ้วนขึ้นง่ายกว่าเดิมเสียอีก ควรทานให้ครบมื้อ แต่ลดปริมาณให้น้อยลง อาหารเผ็ดช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญ ดื่มชาเขียวช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ

เริ่มจากการรับประทานอาหารมื้อเช้าเป็นสำคัญ เพราะใน 8-9 ชั่วโมงที่คุณหลับพักผ่อนนั้น ร่างกายจะหิว เมตาบอลิซึ่มจะทำงานอย่างช้าๆ เพื่อรักษาระดับพลังงานในร่างกาย (แคลอรี่) การรับประทานอาหารเช้าจึงเป็นตัวการช่วยกระตุ้นการทำงานของเมตาโบลิซึ่ม หากคุณจะกินอาหารเช้าที่เป็นสลัดผักหรือว่าข้าวซ้อมมือ อาหารแบบนี้แหละที่จะช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญได้ดีนัก ทั้งยังมีเส้นใยอาหารมากกว่าอาหารประเภทอื่นด้วย

3   3. ลด  คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารที่ให้พลังงานที่สำคัญแก่ร่างกาย มักพบอยู่ในรูปของแป้ง และน้ำตาล เป็นส่วนใหญ่ พบมากในข้าว แป้ง ขนมปัง เป็นสารตัวแรกที่ร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงาน หากร่างกายได้รับสารอาหารชนิดนี้ไม่เพียงพอ จะสลายสาร ไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน หากไขมันไม่พอจะไปสลายสาร โปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน แต่การที่ปฏิกิริยาทางเคมี จะสลายเอาโปรตีนภายในร่างกายมาใช้เป็นพลังงานได้ ก็ต่อเมื่อ ร่างกายขาดสารอาหารจากคาร์โบไฮเดรต และไขมันอย่างรุ่นแรง แต่ถ้ามีสารนี้มากเกินไป ร่างกายจะเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน

วิธีคำนวณหาดัชนีมวลกาย BMI (Body Mass Index)
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นดัชนีที่ดูความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงและน้ำหนัก มาช่วยบอกมาว่าเราอยู่ในสภาวะไหน ผอมไป ปกติ หรืออ้วนไป
สูตรคำนวณ คือ น้ำหนัก ÷ ส่วนสูง2 (เมตร) = BMI
ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 55 สูง 165 เซนติเมตร
55÷(1.652)                  = BMI
55÷(1.65x1.65)           = BMI
55÷2.7225                   = 20.20



ข้อขอบคุณแหล่งข้อมูล

ภาพประกอบจาก Google Search